มาตรฐานการจัดการบ้านนกแอ่นกินรัง เพื่อส่งเสริมและยกระดับการส่งออกผลิตภัณฑ์รังนกบ้านของประเทศไทย
About
โดย
จุดเด่น/หลักการทำงาน
มาตรฐานการจัดการบ้านนกแอ่นกินรัง ตามการปฏิบัติที่ดีทางการเกษตร (Regulations for Good Agricultural Practice of Swiftlet House) ที่พัฒนาขึ้นภายใต้มาตรฐานการเกษตร KU Standard มีเป้าหมายการยกระดับและเพิ่มมูลค่าของรังนกของประเทศไทยในอนาคต และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เพื่อให้ได้ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย ยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับรังนกแอ่นที่มาจากอาคารส่วนบุคคลที่สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้
มาตรฐานการจัดการบ้านนกแอ่นกินรังนี้ได้พัฒนาข้อกำหนด (codes of practices) มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีทางการเกษตร สำหรับการจัดการบ้านนกแอ่นกินรัง ประกอบด้วยข้อกำหนดหลัก 8 องค์ประกอบ 33 ข้อกำหนด ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบบ้านนก (สถานที่ตั้ง ผังบ้านนก ลักษณะบ้านนก) จำนวน 10 ข้อกำหนด 2) คุณภาพน้ำ จำนวน 1 ข้อกำหนด 3) การจัดการบ้านนก (การทำความสะอาดและการบำรุงรักษา คู่มือการจัดการบ้านนก บุคลากร) จำนวน 10 ข้อกำหนด 4) สุขภาพสัตว์ จำนวน 4 ข้อกำหนด 5) สวัสดิภาพสัตว์ จำนวน 2 ข้อกำหนด 6) การจัดการผลผลิต จำนวน 4 ข้อกำหนด 7) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 ข้อกำหนด และ 8) การบันทึกข้อมูล จำนวน 2 ข้อกำหนด
ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเกษตร
ส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานการจัดการบ้านนกแอ่นกินรังในอาคารส่วนบุคคลของประเทศไทย และพัฒนากระบวนการการรับรองคุณภาพการผลิตรังนกจากอาคารส่วนบุคคล ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาและเร่งกระบวนการให้เกิดการยกระดับมาตรฐานการจัดการบ้านนกแอ่นกินรังในอาคารส่วนบุคคลให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนสำหรับการยกระดับการแข่งขันอุตสาหกรรมรังนกของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านต่อไป
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ -- สามารถเพิ่มมูลค่ารังนกของประเทศไทย และขยายโอกาสสำหรับการส่งออกรังนกไปต่างประเทศ
ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม --ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการบ้านนก เช่น เสียง กลิ่น เชื้อโรค
ประโยชน์ทางด้านสังคม -- สามารถลดความขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบกิจการบ้านนก และประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เตคียงกับอาคารบ้านนก